เครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมือง

เครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมืองเกิดจากการรวมตัวของภาคประชาสังคม ที่มีเป้าหมายร่วมกัน คือ มุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและพลเมืองให้มีบทบาทในการบริหารจัดการป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม คำว่าป่าไม้ภาคพลเมืองนั้นครอบคลุมการบริหารจัดการป่าไม้ในทุกประเภทที่ดิน ที่มีชุมชนหรือประชาชนเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลจัดการ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ พื้นที่ป่าสงวน พื้นที่ป่าชายเลน หรือแม้กระทั่งป่าครอบครัว บนฐานความคิด "คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้" และความยั่งยืนของป่าไม้นั้นจะมีคนเป็นกุญแจสำคัญ ดังนั้นจึงให้ความสำคัญต่อมิติต่าง ๆ ของการจัดการป่าชุมชน ทั้งสิทธิการถือครองที่ดิน การจัดการและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน สิทธิที่จะได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์ และการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น




เครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมือง 1

เครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมือง 2

เครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมือง 3



ภารกิจเครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมือง


ภารกิจเครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมือง

  • บทบาทหลักของเครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมืองคือ “การสร้างพื้นที่กลาง” เพื่อให้เกิดการพูดคุย การปรึกษาหารือ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างกลุ่ม องค์กร ชุมชน เครือข่าย หน่วยงานที่ทำงานด้านการบริหารจัดการป่าไม้
  • การจัดทำข้อเสนอแนะด้านนโยบาย และเสนอความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมกันนี้เครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมืองได้จัดตั้ง “กลไกประสานงาน” ระดับจังหวัด และระดับภาค
  • การพัฒนาศักยภาพผู้นำ (ผู้นำแถวแรก ผู้นำแถวสอง ผู้นำเพศหญิง ชนเผ่าพื้นเมือง และเยาวชนหรือ คนรุ่นใหม่) ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนในกลไกบริหารจัดการป่าชุมชนในทุกระดับ และทุกประเภทที่ดินป่า
  • การจัดทำฐานข้อมูลเว็บไซต์ www.thaicfnet.org ของเครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมือง



กลไกการประสานระดับภาคและระดับจังหวัด ของเครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมือง


(รอติดตาม)



องค์กรและหน่วยงานที่ทำงานด้านป่าชุมชน


องค์กรที่จดแจ้งชื่อกับกรมป่าไม้


ตามประกาศของกรมป่าไม้ เรื่องการจดแจ้งองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับป่าชุมชน ในปัจจุบัน มีองค์กรจำนวน 200 องค์กรที่ได้ทำการจดแจ้งไว้ โดยวัตถุประสงค์ของระเบียบกรมป่าไม้ ว่าด้วยการจดแจ้งเป็นองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. 2562 คือ "การจดแจ้งการเป็นองค์กรภาคประชาสังคม เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคประชาสังคมในการจัดการป่าชุมชน อันนำไปสู่ การอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการ บำรุงรักษา ตลอดจนใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน" โดยรายละเอียดขององค์กรที่จดแจ้ง สามารถติดตามได้ที่ รายชื่อองค์กรภาคประชาสังคม - ส่วนภาคีเครือข่ายป่าชุมชน (forest.go.th) และรายชื่อเครือข่ายป่าชุมชนระดับจังหวัด สามารถติดตามได้ที่ รายชื่อเครือข่ายป่าชุมชนระดับจังหวัด - ส่วนภาคีเครือข่ายป่าชุมชน (forest.go.th)